กรรมคือ การกระทำ ไม่ว่าจะดี หรือเลว มันก็คือกรรม
เพียงแต่ว่าถ้าทำดี ก็เป็นกรรมดี ถ้าทำชั่ว ก็เป็นกรรมชั่ว หรือที่เราเรียกกันว่า "บาป"
และคำๆ นี้มันจะติดตัวคุณไปจนกว่าคุณจะใช้กรรมหมด เพราะโลกนี้ไม่มีคำว่า "ทำบุญล้างบาป"

หน้าแรก | หลักธรรม | แก้กรรม | บาป | บทสวด

วันจันทร์

กรรมคืออะไร

ความหมายของกรรม

กรรม ถ้าจะให้แปลตามศัพท์จะหมายถึงการงาน หรือการกระทำ แต่ถ้าพูดถึงทางธรรมจะหมายถึง การกระทำที่ประกอบไปด้วยเจตนา หรือการกระทำที่เป็นไปด้วยความจงใจ แต่ถ้าเราเกิดการกระทำที่เราไม่ได้เจตนานั้น ก็จะไม่เรียกว่าเป็นกรรมในส่วนความหมายของทางธรรมนั่นเอง

แต่ความหมายของกรรมที่จริงแล้วยังสามารถที่จะทำให้คุณแยกแยะความหมายไปได้อีกหลายแง่ ดังที่จะนำมาเล่าให้ฟังนี้
  • จริง ๆ แล้วถ้าจะมองให้เ็ห็นถึงตัวแท้ของกรรมนั่น การมองให้ตรงตัว กรรมก็จะคือเจตนาอันได้แก่ เจตน์จำนง, ความพอใจ, การคัดเลือก เป็นต้น ซึ่งจริง ๆ ก็คือการเจตนากระทำของตัวตน
  • มองขยายออกไปให้เห็นตัวการอื่น ๆ คือให้มองในการดำรงชีวิตของคุณ ซึ่งจะเห็นกรรมในแง่ของตัวประกอบ กรรมในแง่นี้ก็คือ สังขาร นั่นเอง
  • มองเลยออกมาข้างนอกเล็กน้อย คือให้มองในแง่ของชีวิตที่สำเร็จรูป หรือให้มองกันง่าย ๆ ก็คือ มองดูจากกิริยาท่าทางของคนนั่นๆ รวมถึงความนึกคิดด้วย
  • มองกว้างออกไปอีีก คือ การมองเกี่ยวกับหน้าที่การงานของคุณเอง หรือกระทั่งเกี่ยวกับการดำรงชีวิตด้วย
เมื่อเรารูเกี่ยวกับกรรมแล้ว คราวนี้เรามารู้จักกับประเภทของกรรมกันบ้าง
ประเภทของกรรม จะแบ่งออกเป็น 2 อย่างคือ
  1. อกุศลกรรม จะเป็นการกระทำที่ไม่ดีกรรมชั่ว ซึ่งก็ัจะหมายถึง การกระทำที่เกิดจากอกุศลมูล คือ โลภะ โทสะ และโมหะ นั่นเอง
  2. กุศลกรรม ซึ่งชื่อก็บอกแล้วว่ากุศล คือ กรรมที่เป็นกุศล ก็เป็นการกระทำที่ดี หรือกรรมดี ซึ่งจะหมายถึง การกระทำที่เกิดจากกุศลมูล คือ อโลภะ อโทสะ และอโมหะ นั่นเอง
แต่กรรมนั่นเพื่อที่จะให้เข้าใจได้ง่าย ก็จะได้แก่ กายกรรม, วจีกรรม และมโนกรรม
ทั้งนี้ทั้งนั่น กรรมจริง ๆ แล้วจะเกิดจากการกระทำของตัวคุณเองทั้งสิ้น คราวนี้คุณจะทำอะไรก็สามารถที่จะพิจารณาว่ากระทำกรรมดี หรือกระทำกรรมชั่วได้แล้ว


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น