การกระทำ และท่าทางอื่น ๆ ที่แสดงออก
ตามที่ได้พูดถึงมาแล้วในตอนต้น ๆ ว่า "กรรม" นั่นคือผลของการกระทำและอื่น ๆ ที่เราแสดงออกมา หรือสิ่งที่ปรากฎออกมาให้เห็นเป็นรูปร่างต่าง ๆ ทั้งสวยงาม และขี้เหร่ นั่นก็มีผลจากการกระทำของเราเองจากชาติที่แล้ว แต่กรรมของแต่ละบุคคลย่อมไม่เหมือนกัน เพราะต่างจิตใจ ต่างใจที่จะกระทำกรรมกันทั้งนั้นแต่ "กรรม" นั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทคือ กรรมดี หรือที่จะเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "กุศลกรรม" หรือ "บุญกรรม" ส่วนอีกประเภทคือ กรรมชั่ว หรือจะเรียกอีกอย่างว่า "อกุศลกรรม" หรือ "บาปกรรม" นั่นเอง แต่คราวนี้เราจะมาดูกันว่า กุศลกรรม และอกุศลกรรม เป็นอย่างไร
กุศลกรรม
คือ การกระทำ และท่าทางอื่น ๆ ที่แสดงออก ในด้านของความดี และผลของการกระทำนั้นก็จะตกไปสู่ผู้ที่กระทำนั่นเอง เช่น การกระทำ หรือการที่มีจิตใจที่ไม่เกิดความโลภ ไม่โกรธ ไม่หลง เพราะจริง ๆ แล้ว ความโลภ ความโกรธ และความหลง เป็นต้นเหตุอันสำคัญของการกระทำที่ใจเป็นหลัก เพราะใจเรานั้นสามารถที่จะบังคับทั้งกาย และวาจา ที่จะให้กระทำ หรือไม่ให้กระทำก็ได้
กุศลกรรมบท 10 เป็นสิ่งที่เรา ๆ สามารถที่จะปฏิบัติได้ และยังเป็นกุศลที่สามารถส่งไปถึงให้เราเกิดเป็นมนุษย์ หรือเทวดาได้อีกด้วย ซึ่ง กุศลกรรมบท 10 นี้เราจะต้องสำรวมทั้ง กาย วาจา และใจ มีทั้ง 10 ประการรวมกัน และยังแบ่งออกไปได้อีกเป็นย่อย ๆ ซึ่งจะได้แำ้ก่ กายสุจริต หรือกายกรรม 3, วาจาสุจริต หรือวจีกรรม 4, และมโนสุจริต หรือมโนกรรม 3 คราวนี้เราลองมาดูกันว่า กายกรรม 3, วีจีกรรม 4 และมโนกรรม 3 นั้นมีอะไรกันบ้าง
กายกรรม 3 หรือการพฤติปฏิบัติตัวของเรานั้น มีดังนี้
- เว้นจากการฆ่าสัตว์
- เว้นจากการลักทรัพย์
- เว้นจากการประพฤติผิดในกาม
วจีกรรม 4 หรือการพูดจา มีดังนี้
- เว้นจากการกล่าวเท็จ
- เว้นจากการกล่าวส่อเสียด ที่มีผลให้คนอื่นแตกแยกกัน
- เว้นจากการกล่าวคำหยาบ
- เว้นจากการพูดจาเพ้อเจ้อ
มโนกรรม 3 หรือการประพฤติทางใจ มีดังนี้
- เว้นจากความโลภ ความอยากได้ในสิ่งที่ไม่ใช้ของเรา
- เว้นจากความอาฆาต พยาบาท
- มีความเห็นชอบในทางที่ดี หรือตามทำนองคลองธรรม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น